การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย ในสวนไผ่


การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย ในสวนไผ่


          ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของ นายสุธรรม จันทร์อ่อน เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2553 สาขาบัญชีฟาร์ม หมอดินดีเด่น ศูนย์เรียนรู้ปศุสัตว์อินทรีย์ การเลี้ยงไก่ไจ่ กิจกรรมภายในฟาร์มเป็นระบบเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ มีการรวมกลุ่มจัดการผลผลิตอินทรีย์ ส่งให้ผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกในเขตหนองแขม ดังนี้

คุณค่าทางโภชนะ ของไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อย


คุณค่าทางโภชนะ ของไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อย


          จากรายงานของ Mather earth news egg testing project ได้วิเคราะห์ไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อยแปลงหญ้าตลอดเวลา จำนวน 14 ฟาร์มในสหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบกับข้อมูลวิเคราะห์ไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบอุตสาหกรรมของ USDA พบว่า ไข่ไก่ที่เลี้ยงปล่อยแปลงหญ้าตลอดเวลา ให้ไก่ได้จิกกินพืชหญ้าสีเขียว แมลง หนอน ซึ่งมีไวตามินแร่ธาตุและโปรตีนจากพืชสัตว์ธรรมชาติเสริมเฉพาะธัญพืช ทำให้มีคุณค่าทางโภชนะสูงกว่าคือ

ภูมิปัญญาไทยการใช้สมุนไพร และเทคนิคชีวภาพในการป้องกันโรคไก่ไข่


ภูมิปัญญาไทยการใช้สมุนไพร และเทคนิคชีวภาพในการป้องกันโรคไก่ไข่


          ในปัจจุบันเกษตรกรได้พัฒนาเทคนิคน้ำหมักชีวภาพ และสารสกัดสมุนไพรมาใช้เลี้ยงไก่ไข่ แต่เป็นการใช้ตามภูมิปัญญาจากการเรียนรู้ของเกษตรกรผมการใช้ไม่แน่นอน จากการสำรวจเบื้องต้นพบรูปแบบการใช้ดังนี้

จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และ จุลินทรีย์ก่อโรค ในลำไส้ไก่ไข่ คือ


จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และ จุลินทรีย์ก่อโรค ในลำไส้ไก่ไข่ คือ


          ในสุขภาพของทางเดินอาหารเป็นกลไกสำคัญในการใช้ประโยชน์ของสารอาหาร ในลำไส้เล็กมี Villi ทำหน้าที่เป็นตัวกรองและอนุญาตให้สารอาหารที่ย่อยสมบูรณ์ผ่านเข้ากระแสเลือดไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าสมดุลของจุลินทรีย์ไม่เหมาะสม หรือมีจุลินทรีย์ก่อโรค หรือเชื้อโรคมากทำให้ขับสารพิษออกมายึกเกาะ Villi เกิดภาวะทำให้ Villi ดูดซึมอาหารไม่หมดและไม่สามารถกรองเชื้อโรคได้ ทำให้เข้าไปในกระแสเลือดเกิดโรคต่าง ๆ ขึ้น นอกจากนี้ในลำใส้มีต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันกรณีมีเชื้อแปลกปอมเข้าไปในร่างกาย ซึ่งจุลินทรีย์ในลำใส้มี 2 ประเทภคือ

เทคนิคการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย Free-Range


เทคนิคการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย Free-Range


          กาจัดการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย ตั้งแต่การปล่อยพื้นในโรงเรือนจนถึงการปล่อยอิสระสู่พื้นที่ภายนอกไม่จำกัด (Barn to free range) นั้นผู้เลี้ยงต้องมีความเข้าใจความต้องการทางพฤติกรรมของไก่ และจัดหาอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ ให้สัตว์ได้รับแสงแดด มีร่มเงา ต้นไม้ คอก โรงเรือนที่กันแดดกันฝนได้ และทำความสะอาดคอก รางน้ำ รางอาหาร และมูลสัตว์สม่ำเสมอ เพื่อประกอบกับการจัดการฟาร์ม ประเด็นสำคัญในการพิจารณา ดังนี้

คำแนะนำ การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์


คำแนะนำ การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์

          หลังการพื้นฐานการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ คือ จะต้องไม่ขังกรง การเลี้ยงปล่อย (Access to Outdoor) มีโรงเรือนที่เหมาะสม ไม่หนาแน่ และเปิดให้สัตว์ได้ออกพื้นที่โล่งภายนอกโรงเรือนได้ตลอดเวลา พื้นที่ภายนอกควรมีหญ้าหรือพืชธรรมชาติคลุม (Free range) เพื่อให้ไก่ไข่ได้คุ้ยเขี่ย หากินพืช สัตว์ แมลง ตามธรรมชาติ สัมพัสแสงแดด อากาศภายนอกโรงเรือน อาหารที่ได้รับรวมทั้งแปลงหญ้าต้องเป็นอินทรีย์ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ยาเคมีสังเคราะห์ ไม่ใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ มีระบบป้องกันโรคที่ดี เพื่อส่งเสริมสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรง เป็นไปตามธรรมชาติของไก่ไข่ รักษาความเป็นอินทรีย์ตั้งแต่การผลิตจนถึงการบรรจุเป็นเนื้อหรือไข่

สุขภาพไก่ และความเสี่ยงต่อโรคระบาดในการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย


สุขภาพไก่ และความเสี่ยงต่อโรคระบาดในการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย

          ประเด็นปัญหาการเกิดโรคระบาดโดยเฉพาะความเสี่ยงต่อโรคไข่หวัดนก ในการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยและการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรมนั้น เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และหาข้อสรุปเชิงวิทยาศาสตร์ พบว่าการเกิดโรคจะเกิดขึ้นได้ทุกระบบของการเลี้ยง แต่ความรุนแนงของโรคจะแตกต่างกันไป ไก่ไข่เลี้ยงแบบปล่อยมีโอกาสเสี่ยงต่อนกป่าที่ติดเชื่อมากกว่าไก่ไข่ที่เลี้ยงในโรงเรือนแบบปิดก็จริง แต่หากดูแลให้ไก่ไข่แข็งแรงด้วยการจัดการที่ดี มีภูมิต้านทานโรคโดยธรรมชาติ เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะไม่รุนแนง และโอกาสกระจายมีน้อยเพราะเลี้ยงไม่หนาแน่น

สวัสดิภาพสัตว์ คืออะไร และมีวิธีปฏิบัติอย่างไร


สวัสดิภาพสัตว์ คืออะไร และมีวิธีปฏิบัติอย่างไร

          สวัสดิภาพสัตว์ (Animal Walfare) หมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของสัตว์บนพื้นฐานการคำนึงถึงหลัก 2 ประการคือ 1. สภาพทางร่างกายสรีรวิทยาของสัตว์ และ 2. สภาพทางจิตใจของสัตว์ การจัดการสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีป้องกันไม่ให้เกิดความเครียด ทำให้สัตว์แข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคโดยธรรมชาติ ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในระดับสากลทั่งเชิงปรัชญาและทางวิทยาศาสตร์ว่ามีอะไรเป็นกรอบในการปฏิบัติ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1967 คณะมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้บัญญัติความหมายของสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งใช้เป็นกรอบในการจัดการฟาร์ม เรียกว่า เสรีภาพ 5 ประการ (FAWC,2005) ได้แก่