คำแนะนำ การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์


คำแนะนำ การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์

          หลังการพื้นฐานการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ คือ จะต้องไม่ขังกรง การเลี้ยงปล่อย (Access to Outdoor) มีโรงเรือนที่เหมาะสม ไม่หนาแน่ และเปิดให้สัตว์ได้ออกพื้นที่โล่งภายนอกโรงเรือนได้ตลอดเวลา พื้นที่ภายนอกควรมีหญ้าหรือพืชธรรมชาติคลุม (Free range) เพื่อให้ไก่ไข่ได้คุ้ยเขี่ย หากินพืช สัตว์ แมลง ตามธรรมชาติ สัมพัสแสงแดด อากาศภายนอกโรงเรือน อาหารที่ได้รับรวมทั้งแปลงหญ้าต้องเป็นอินทรีย์ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ยาเคมีสังเคราะห์ ไม่ใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ มีระบบป้องกันโรคที่ดี เพื่อส่งเสริมสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรง เป็นไปตามธรรมชาติของไก่ไข่ รักษาความเป็นอินทรีย์ตั้งแต่การผลิตจนถึงการบรรจุเป็นเนื้อหรือไข่

          หากต้องการขอการรับรองให้ติดต่อหน่วยตรวจรับรอง โดยผู้ผลิตจะต้องมีแผนการผลิตระบบปศุสัตว์อินทรียร์ที่อธิบายแผนการผลิตแต่ละรุ่นตลอดปี วิธีการจัดการฟาร์มไม่ให้ปนเปื้อนสารเคมีและไก่ปกติ และบันทึกการใช้ปัจจัยการผลิตการดูแลสุขภาพ และหลักฐานการใช้ไว้ให้ตรวจสอบ


รายละเอียดการปฏิบัติตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์
1. พื้นที่ใช้เลี้ยงสัตว์
          ต้องทำ : 1. เป็นพื้นที่อินทรีย์และไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมี 2. มีขอบเขตชัดเจน แสดงความเป็นอินทรีย์ 3. เป็นที่โปรง อากาศถ่ายเทดี สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้

          ต้องห้าม : ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดหญ้า ศัตรูพืชในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 3 ปี และปลูกพืชในระบบอินทรีย์มาไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนนำมาให้สัตว์กิน

2. แหล่งที่มาของสัตว์
          ต้องทำ : 1. มาจากพ่อแม่พันธุ์ที่เหมาะสมกับระบบการเลี้ยงปล่อย 2. นำมาเลี้ยงในระบบอายุน้อยสุด อายุไม่เกิน 3 วัน

          ต้องห้าม : หากเป็นพันธุ์ที่โตเร็วต้องเลี้ยงในระบบอินทรีย์ไม่ต่ำกว่า 10 อาทิตว์

3. โรงเรือนและการเลี้ยงปล่อย
          ต้องทำ : หลักการ - เลี้ยงไก่ไข่ไม่หนาแน่นเกินไปให้เหมาะสมกับพื้นที่โรงเรือนและพื้นที่ปล่อย 1. มีโรงเรือนสามารถกันแดด กันฝน กันศัตร โปร่ง โล่ง สบาย ขนาดพื้นที่ภายในโรงเรือนไม่มากกว่า 4-5 ตัว/ตร.ม. ไก่ไข่มีคอน และรังไข่อย่างเพียงพอ 2. มีพื้นที่ภายนอกโรงเรือน ให้ไก่ไข่สามารถออกมาได้อย่างอิสระ และมีพืชหญ้าปกคุม หรือเป็นแปลงหญ้า (ไก่ไข่ 160 ตัว/ไร่, ไก่เนื้อ 400 ตัว/ไร่) 3. แปลงหญ้ามีการหมุนเวียน หรือพักแปลงให็หญ้าได้งอกใหม่ และตัดวงจรพยาธิ

          ต้องห้าม : 1. ไม่เลี้ยงขังคอกตลอดเวลา 2. ห้ามเลี้ยงไก่ไข่บนกรงตับ อาจขังคอกเมื่อจำเป็น เช่น สภาพอากาศรุนแรง กันสัตว์ไม่ให้ได้รับอันตรายแต่ไม่เกิน 1/3 ของช่วงชีวิต 3. ห้ามใช้แสงไฟฟ้าในไก่ไข่เพิ่มแสงไม่เกิน 16 ชั่วโมงต่อวัน


4. อาหารสัตว์
          ต้องทำ : หลักการ - อาหารอินทรีย์ 100 % และสูตรอาหารเหมาะสมกันสัตว์ วิธีปฏิบัติ 1. อาหารสัตว์ควรปลูกภายในฟาร์มหรือเครือข่ายบริเวณใกล้เคียง เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง หยวกกล้วย 2. สร้างแหล่งอาหารธรรมชาติ เช่น พืชผักสีเขียว แมลงหนอน ปลวก ให้สัตว์ได้คุ้ยเขี่ยกินตามธรรมชาติมากที่สุด 3. หากพื้นที่ปล่อยไม่มีพืชสีเขียว ควรมีอาหารหยาบสดให้กินทุกวัน เช่น พืช ผัก สมุนไพร 4. หากไก่ได้รับอาหารธรรมชาติ เช่น พืชผักสีเขียว ผลไม้ สมุนไพร และแมลง ไม่เพียงพอผู้เลี้ยงจำเป็นต้องเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ และน้ำหมันสมุนไพร ให้ไก่ได้กินเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทานโรค และช่วยย่อยอาหาร

          ต้องห้าม : 1. ห้ามใช้วัตถุดิบที่มาจากการตัดต่อพันธุกรรม เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลืองนำเข้า 2. ห้ามใช้ปฏิชีวนะ ยากันบิด ฮอร์โมนสังเคราะห์ สารเร่งการเจริญเติบโต 3. ห้ามใช้เนื้อ กระดูกป่น จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 4. ห้ามใช้กรดอะมิโนสังเคราะห์ ยกเว้น กรณีจำเป็น

5. การจัดการสุขภาพุ
          ต้องทำ : 1. หมั่นตรวจสุขภาพไก่ไข่ประจำ 2. ป้องกันโรคด้วยวัคซีนได้ในกรณีที่เลี่ยง 3. หากสัตว์ป่วยต้องรักษา แต่มีระยะหยุดยาเป็น 2 เท่า ควรแยกสัตว์ป่วยออกจากฝูง 4. มีมาตรการกักโรค ก่อนรวมฝูง 5. มีมาตรการป้องกันโรค คน สัตว์พาหะเข้าฟาร์มที่ดีให้อาหารในคอก ป้องกันนกกินอาหาร 6. ทำความสะอาดคอก โรงเรือน สม่ำเสมอ

          ต้องห้าม : 1. ห้ามตัดปากไก่ ยกเว้นในกรณีจำเป็นต้องตัดอย่างเหมาะสมเพื่อให้ไก่ไข่ได้จิกกินตามธรรมชาติได้ 2. ห้ามบังคับผลัดขน

6. การขนส่ง การรวบรวม และการชำแหละ
          ต้องทำ : 1. ปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมให้เกิดความเครียดต่อสัตว์น้อยที่สุด 2. การชำแหละที่คำนึงถึงความปลอดภัยของอาหาร 3. การเป็บไข่ การคัดแยก การบรรจุ ต้องไม่ปะปนกับไข่ปกติ

          ต้องห้าม : ไม่นำสัตว์อินทรีย์ปะปนกับสัตว์ที่เลี้ยงแบบปกติ

ไข่ ไก่ อินทรีย์ อารมณ์ดี