เทคนิคการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย Free-Range


เทคนิคการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย Free-Range


          กาจัดการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย ตั้งแต่การปล่อยพื้นในโรงเรือนจนถึงการปล่อยอิสระสู่พื้นที่ภายนอกไม่จำกัด (Barn to free range) นั้นผู้เลี้ยงต้องมีความเข้าใจความต้องการทางพฤติกรรมของไก่ และจัดหาอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ ให้สัตว์ได้รับแสงแดด มีร่มเงา ต้นไม้ คอก โรงเรือนที่กันแดดกันฝนได้ และทำความสะอาดคอก รางน้ำ รางอาหาร และมูลสัตว์สม่ำเสมอ เพื่อประกอบกับการจัดการฟาร์ม ประเด็นสำคัญในการพิจารณา ดังนี้

1. พันธุ์ไก่ไข่
          ควรเลือกใช้พันธุ์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมการเลี้ยงแบบปล่อย สามารถหากินตามธรรมชาติได้ดี ใช้อาหารสัตว์ที่มีในท้องถิ่นได้ดี แข็งแรง ทนโรค ให้ผลผลิตดี และไม่ตัดปาก


2. เลือกพื้นที่
          เป็นพื้นที่ห่างจากที่อยู่อาศัย อาจเป็นสวนหลังบ้าน สวนผลไม้ สวนป่า หรือที่โล่งมีหญ้าปกคลุม เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้วกั้นบริเวณด้วยอวน ตาข่าย จำนวนไก่ไข่ที่เลี้ยงไม่ควรเกิน 200-300 ตัว/ไร่ ขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพธรรมชาติของอาหารที่ไก่ได้จิกกิน ภายในพื้นที่อาจกั้นเป็นแปลงหมุนเวียนก็ได้


3. โรงเรือน
          เป็นที่หลบแดด หลบฝน หลบภัยให้กับสัตว์ พื้นที่ภายในโรงเรือน 4-5 ตัว/ตร.ม. ภายในโรงเรือนมีคอนนอน มีรังไข่อย่างน้อย 7 แม่/รัง


4. อาหารสัตว์
          อาหารสัตว์ส่วนหนึ่งมาจากธรรมชาติ โจทย์การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย คือการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ท้องถิ่น ฉะนั้นสูตรอาหารสัตว์จะไม่เป็นสูตรสำเร็จขึ้นกับสภาพการเลี้ยงปล่อย โดยผู้เลี้ยงจะต้องทดลองด้วยตนเอง มีหลักเกณฑ์พิจารณาดังนี้

          4.1 ปล่อยอิสระ Free-Range มีความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น หญ้า สมุนไพร แมลง หนอน สัตว์ธรรมชาติ
อาหารจากธรรมชาติ - ไก่ได้รับโปรตีน ไวตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ สมุนไพรจากธรรมอย่างเพียงพอ
อาหารเสริม - เสริมด้วยแหล่งพลังงาน เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง
การใช้ตามภูมิปัญญา - หยวกกล้วย รำ ปลายข้าว หรือเข้าเปลือก

          4.2 ปล่อยอิสระ Free-Range แต่มีความหลากหลายทางชีวภาพไม่เพียงพอ เช่นเป็นพื้นที่ดินเปลือย ไม่มีพืชหญ้า สมุนไพรปกคลุมอย่างเพียงพอต่อสัตว์
อาหารจากธรรมชาติ - ได้รับสารอาหารจากธรรมชาติ โปรตีน ไวตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ อาจไม่เพียงพอ
อาหารเสริม - เสริมด้วยแหล่งพลังงานโปรตีน โปรไบโอติก เอ็มไซม์ กรดอะมิโน ฮอร์โมนจากกระบวนการหมักด้วยจุลินทรีย์
การใช้ตามภูมิปัญญา - หยวกกล้วย ผัก พืชสีเขียว, รำ ปลายข้าว ข้าวโพด, น้ำหมักเศษปลา หอยเชอรี่ หรือถั่วเหลือง ถั่วเขียวคั่วบด ใบกระถิน ใบมันสำปะหลังแห้ง, น้ำหมักผลไม้, สมุนไพร บอระเพ็ด ฟ้าทะบายโจน ขมิ้นชัน ไพล เป็นต้น

          4.3 ปล่อยในพื้นที่ภายนอก Access to Outdor ไม่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเพียงะอ
อาหารเสริมจากธรรมชาติ - สารอาหารจากธรรมชาติไม่เพียงพอ
อาหารเสริม - ต้องได้รับสารอาหารครบหมู่
การใช้ตามภูมิปัญญา - เช่นเดียวกับข้อ 4.3

5. เทคนิคการดูแลสุขภาพไก่ไข่แบบองค์รวม
          "อาหารเสริมสุขภาพระบบย่อยอาหาร Nutraceutical Concept For Gut Health" เป็นวิทยาการด้านอาหารสัตว์ในปัจจุบัน เดิมในยุค 40 ปีก่อน การคำนวณสูตรอาหารจะคำนึงถึงโภชนะที่ย่อยได้ให้เพียงพอต่อความต้องการของไก่ไข่ ในยุคต่อมาเสริมด้วยไวตามิน แร่ธาตุ ต่อมามีการเสริมด้วยกรดอะมิโนสังเคราะห์ แต่ในปัจจุบัน วิทยาการด้านอาหารไก่ไข่จะต้องมีการเชื่อมต่อความรู้หลายสาขามาขึ้น เช่น การให้อาหารที่ไก่ไข่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เช่น เอมไซม์ กรดอะมิโน ที่ได้รับการปมักบ่มด้วยจุลินทรีย์และอาหารเป็นยา เช่นสมุนไพร เป็นต้น


          สุขภาพของทางเดินอาหารเป็นกลไกสำคัญในการใช้ประโยชน์ของสารอาหาร ในชำไส้เล็ก มี Villi ทำหน้าที่เป็นตัวกรองและอนุญาตให้สารอาหารที่ย่อยสมบูรณ์ผ่านเข้ากระแสเลือดไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าสมดุลของจุลินทรีย์ไม่เหมาะสม หรือมีจุลินทรีย์ก่อโรค หรือ เชื้อโรคมากทำให้ขับสารพิษออกมายึดเกาะ Villi เกิดภาวะทำให้ Villi ดูดซึมอาหารไม่หมดและไม่สามารถกรองเชื้อโรคได้ ทำให้เข้าไปในกระแสเลือดเกิดโรคต่าง ๆ ขึ้น นอกจากนี้ในลำใส้มีต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันกรณีมีเชื้อแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย จุลินทรีย์ในลำไส้มี 2 ประเภทคือ 1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และ 2. จุลินทรีย์ก่อโรค

(ตอนต่อไปเราจะมาพูดถึงเรื่องจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดนี้)
อ่านต่อ : http://goodorganicegg.blogspot.com/2016/07/blog-post_76.html

ไข่ ไก่ อินทรีย์ อารมณ์ดี