จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และ จุลินทรีย์ก่อโรค ในลำไส้ไก่ไข่ คือ
ในสุขภาพของทางเดินอาหารเป็นกลไกสำคัญในการใช้ประโยชน์ของสารอาหาร ในลำไส้เล็กมี Villi ทำหน้าที่เป็นตัวกรองและอนุญาตให้สารอาหารที่ย่อยสมบูรณ์ผ่านเข้ากระแสเลือดไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าสมดุลของจุลินทรีย์ไม่เหมาะสม หรือมีจุลินทรีย์ก่อโรค หรือเชื้อโรคมากทำให้ขับสารพิษออกมายึกเกาะ Villi เกิดภาวะทำให้ Villi ดูดซึมอาหารไม่หมดและไม่สามารถกรองเชื้อโรคได้ ทำให้เข้าไปในกระแสเลือดเกิดโรคต่าง ๆ ขึ้น นอกจากนี้ในลำใส้มีต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันกรณีมีเชื้อแปลกปอมเข้าไปในร่างกาย ซึ่งจุลินทรีย์ในลำใส้มี 2 ประเทภคือ
1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (Beneficial Microorganisms) ได้แก่
- กลุ่ม Lactobacillus, Bifidobacter เป็นพวกที่ทนต่อความเป็นกรดและน้ำดี ทำให้สามารถมีชีวิตถึงลำไส้ส่วนปลาย จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะผลิต Lactic acid, Lactase, Acidolin< Hydrogen peroxide, Vitamins ที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ ผลิตสารคล้ายปฏิชีวนะที่สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคกลุ่ม Salmonella, E.coli และ Clostidium botulinium ได้เป็นอย่างดี และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของอาหาร และกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในลำไห้
- Bacillus Subtilis ซึ่งสามารถใช้ผสมในอาหารและยังมีความคงตัวอยู่ สร้างเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีนและแป้ง เช่น Amylase, Protease, Hemicellulase ทำให้อาหารดูดซึมไปใช้ประโยชน์ต่อร่างกายไก่ไข่สูงขึ้น ลดกลิ่นในมูลสัตว์
- Pediococcus SP. สร้างสาร Bacteriocins ที่เรียกว่า Pediocin เป็นสารคล้ายปฏิชีวนะ ทนต่อความร้อนและความเป็นกรด ฆ่าเชื้อก่อโรคได้หลายชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมถนอมอาหาร และเป็น Feed Additive เนื่องจากมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Listeria Monocytogenes, Clostridium Perfringens, Enterococcus Feacalis และ Staphylococcus Aureus
- Yeast (Saccharomyces Cerevisiae) มีรายงานว่าผนังเซลล์ของยีสต์ประกอบด้วย Mannanoligosaccharides (MOS) 45% สามารถสร้างสาร Cytokine และ Bata-Glucan กระตุ้นให้สร้างสารกรุตุ้นภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะในลำไส้ได้ และในต่างประเทศได้ใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์ผสมทั้งแบคทีเรียและยีสต์ดังได้กล่าวข้างต้นได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นทั้ง Probiotics และ Prebioties ทำให้เพิ่มอัตราการเจริญเติบโต เพิ่มการกินได้ เพิ่มการย่อยของอาหาร กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน และลดอัตราการตายในสัตว์
2. จุลินทรีย์ก่อโรค (Pathogenic Microorganisms) ได้แก่ คอริฟอร์ม แซลโมเนลล่า คลอสตริเดี่ยม ซิกิลล่า และสเตโฟโลคอคคัส หากมีมากทำให้อาหารเป็นพิษ ท้องเสีย การใช้ประโยชน์อาหารลดลง การให้ผลผลิตต่ำในสภาพปกติ จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ : จุลินทรีย์ก่อโรค ที่สมดุลควรเป็น 90 : 10 ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในลำใส้ คือ การให้ยา ความเครียด และสิ่งแวดล้อมที่ได้รับ เช่นการปรับเปลี่ยนอาหาร อากาศ/อาหารที่ย่อยยาก และการได้รับเชื้อโรค
ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่เรียกว่า Probiotics และ Prebiotics เป็นเทคนิคการควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในลำไส้ การหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์ และสารสมุนไพรผนวกกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์แทคโนโลยีชีวภาพการคัดสายพันธุ์จุลินทรีย์เพื่อสกัดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ และหรือสกัดสารสำคัญจากกระบวนการหมัก เช่น กรดอะมิโน เอ็มไซม์ ไวตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อนำมาผสมอาหารหรือน้ำให้ไก่ไข่กินเสริมสร้างสุขภาพ Probiotics เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ที่เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วทำให้ปรับสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์และต้านจุลินทรีย์ก่อโรค โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะเกาะอยู่กับผนังลำไส้และสร้างสภาวะกรดอ่อน ๆ เช่น กรดแลคติก ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค นอกจากนี้ยังสร้างเอนไซม์ ไวตามิน อีกทั้งเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายสัตว์ และขจัดสารพิษจากจุลินทรีย์ก่อโรคที่ขับออกมา Prebiotics เป็นสารอาหารที่ไม่ถูกย่อยในกระเพาะเป็นประโยชน์ต่อสัตว์โดยส่งเสริมการเติบโตและกิจกรรมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ สารอาหารบางชนิดจะทำหน้าที่จับกินเชื้อก่อโรค
ไข่ ไก่ อินทรีย์ อารมณ์ดี